โรงเรียนบ้านหนองกุลา
พัฒนาทักษะสมอง EF ด้วย 3 นวัตกรรมจิตศึกษา
ฝึกปฏิบัติเรียนรู้ทุกวัน 3 ช่วงเวลา
บูรณาการกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์
สร้างแกนนำครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง
ก้าวแรกของการขับเคลื่อน EF
โรงเรียนบ้านหนองกุลาเป็น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จัดเป็นโรงเรียนขนาดกลาง ที่ได้รับรางวัลโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เปิดสอนในระดับชั้นอนุบาล 1 (3 ขวบ) ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปัจจุบันมี ดร.วรรณรักษ์ หงษ์ทอง เป็นผู้บริหาร มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 589 คน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 37 คน
ทั้งนี้โรงเรียนเป็นแกนนำของโครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง รุ่นที่ 1 ต่อเนื่องในปี 2564 ของมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา จัดการเรียนการสอนตามแนวทางการพัฒนาโรงเรียนเชิงระบบด้วยการใช้นวัตกรรมจิตศึกษา PBL (Problem Based Learning) และ PLC (Professional Learning Community) และได้นำองค์ความรู้ EF เข้ามาสอดแทรกในกิจกรรมการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) ตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในรูปแบบการจัดกิจกรรม เพื่อฝึกฝนและพัฒนาสมองส่วนหน้าที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการคิด ความรู้สึก และการกระทำ โดยจัดกิจกรรมอย่างเป็นกิจวัตรทั้ง 3 ช่วงเวลา คือ เช้า กลางวัน และก่อนกลับบ้าน ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาศักยภาพหรือความถนัดของตนเอง ไปสู่ความรู้ความสามารถรอบด้าน ทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพ และวิชาชีวิต
โรงเรียนบ้านหนองกุลายังตั้งเป้าขยายผลการพัฒนาทักษะสมอง EF สู่สถาบันการศึกษาในเครือข่าย ผู้ปกครอง และชุมชน เพื่อสร้างสรรค์สังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงด้วยการสร้างคนคุณภาพร่วมกัน
บทเรียนที่อยากบอกต่อ
- การพัฒนาเด็กต้องเริ่มจากการพัฒนาครู และผู้ปกครองไปพร้อมๆ กัน
- สร้างการเรียนรู้ผ่านกระบวนการจัดกิจกรรม ให้ผลลัพธ์ดีกว่าการบรรยาย
- สอดแทรกและเชื่อมโยง EF ในทุกกิจกรรม
- บูรณาการความร่วมมือจากทุกหน่วยงานเพื่อขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ไว้วางใจซึ่งกันและกัน จะทำให้ดำเนินงานเดินหน้าได้เร็วยิ่งขึ้น
“ไม่หยุดพัฒนา แม้ว่าจะทำงานสำเร็จลุล่วงแล้ว”
ผศ.ดร.คนึง สายแก้ว
ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัย มูลนิธิเด็กน้อยพัฒนา
อาคารที่ตั้งศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาทักษะสมอง EF เป็นพื้นที่ตั้งของโครงการศูนย์เรียนรู้อื่นๆ ที่โรงเรียนดำเนินการร่วมด้วย
เป้าหมายและยุทธศาสตร์
โรงเรียนบ้านหนองกุลามุ่งเน้นพัฒนาเป็นโรงเรียนคุณภาพของชุมชนด้วยรูปแบบการบริหารโรงเรียนแห่งศตวรรษที่ 21 โดยเน้นจัดการศึกษาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมน้อมนำศาสตร์ของพระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โรงเรียนจัดการเรียนการสอนทุกระดับชั้นตั้งแต่อนุบาลถึงมัธยมโดยใช้กิจกรรม Active Learning, PBL และ PLC ตามแนวทางจิตศึกษาของมูลนิธิลำปลายมาศ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ได้ลงมือปฏิบัติจริง พร้อมกับการสร้างสนามพลังบวกเป็นพลังเสริมที่ช่วยในการขับเคลื่อนการเรียนรู้ของเด็ก โดยการนำหลักการพัฒนาทักษะสมอง EF มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทุกด้านตลอดทั้งวัน
นอกจากนี้ โรงเรียนยังมุ่งขยายผลสู่โรงเรียนเครือข่ายและผู้ปกครอง เพื่อสร้างชุมชนที่ตระหนักรู้ เข้าใจ และเข้าถึงการพัฒนาทักษะสมองที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 โดยการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
บุคลากรครูของโรงเรียนบ้านหนองกุลา ได้รับโอกาสในการพัฒนาศักยภาพโดยรับการอบรมอยู่เสมอ
บูรณาการความรู้ทักษะสมอง EF สู่ 4 กลุ่มงานบริหาร
สั่งสมโอกาสพัฒนาทักษะสอง EF สู่เด็กทุกช่วงชั้น
โรงเรียนนำทักษะสมอง EF มาพัฒนาผู้เรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร่วมกับกิจกรรมจิตศึกษาตามตารางการเรียนรู้วิถีใหม่ใน 3 ช่วงเวลาตลอดทั้งวัน (เช้า กลางวัน ก่อนกลับบ้าน) สร้างโอกาสฝึกฝนทักษะสมอง EF 3 ด้าน (ทักษะพื้นฐาน ทักษะปฏิบัติ และทักษะกำกับตนเอง) ผ่านสถานการณ์หลากหลาย ให้ผู้เรียนสั่งสมวงจรข้อมูลและเกิดเส้นใยประสาทที่แข็งแรง พร้อมพัฒนาเป็นทักษะสมอง EF รวมทั้ง Self – Control และ Self – Esteem ที่เป็นพลังสำคัญในตัวเด็ก โดยเฉพาะช่วงวัยมัธยมที่เป็นช่วงวัยแห่งการค้นหาและเข้าใจตนเอง
พัฒนาครูด้วยความรู้และประสบการณ์ “ยิ่งเรียน ยิ่งรู้ ยิ่งทำ ยิ่งลึก”
บุคลากรของโรงเรียนได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจการพัฒนาเด็กตามแนวทางจิตศึกษาอย่างเข้มข้น ผ่านหลักสูตรเสริมศักยภาพและความรู้ทักษะสมอง EF มากมาย จนสามารถประยุกต์ใช้จัดการเรียนรู้กับนักเรียนได้อย่างเห็นผลในทุกระดับชั้น รวมทั้งยังมีการยกระดับความรู้ให้ครูอย่างต่อเนื่อง ด้วยกิจกรรม PLC ที่เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูในแต่ละชั้นเรียน และกิจกรรม PLN ที่เป็นเวทีเรียนรู้ระหว่างครูและผู้บริหารโรงเรียนในเครือข่าย เกิดการต่อยอดความคิด พัฒนากระบวนการ แลกเปลี่ยนไอเดีย ไปสู่การสร้างสรรค์การเรียนรู้ที่ดีขึ้น มีการฝึกฝนทักษะสมอง EF ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้อย่างสูงสุด
ก้าวสู่การแบ่งปัน แกนนำเครือข่ายการเรียนรู้
ปัจจุบันโรงเรียนก้าวขึ้นเป็นโรงเรียนแกนนำของโครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเองของมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา มีผลลัพธ์เปลี่ยนแปลงจากการลงมือปฏิบัติจริง มีส่วนร่วมในการขยายผลสู่โรงเรียนเครือข่ายและหน่วยงานที่สนใจ อาทิ กิจกรรม Site visit : พื้นที่ศึกษาวิจัยระดับปริญญาตรี โท เอก และเป็นแหล่งศึกษาดูงานนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC ขณะเดียวกันก็จัดกิจกรรมอบรมความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ปกครองควบคู่กันไปในทุกภาคการศึกษา เพื่อสร้างชุมชนที่ตระหนักรู้ เข้าใจ และเข้าถึงการพัฒนาทักษะสมอง EF ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21
โรงเรียนเครือข่ายหรือหน่วยงานที่สนใจมาร่วมกิจกรรม Site Visit
โรงเรียนเครือข่ายหรือหน่วยงานที่สนใจมาร่วมกิจกรรม Site Visit
ดร.วรรณรักษ์ หงส์ทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองกุลา แสดงความเห็นว่า “การได้รับคัดเลือกให้เป็นศูนย์ EF ระดับมัธยมยิ่งทำให้เราต้องยกระดับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ EF ในระดับมัธยมของโรงเรียนเราให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการเผยแพร่ความรู้ในฐานะศูนย์เรียนรู้ EF ระดับชั้นมัธยม”
การพัฒนาองค์ความรู้ และงานเด่นจากการนำความรู้ EF ไปปฏิบัติ ที่เกิดขึ้นจริง
กิจกรรม |
กลุ่มเป้าหมาย |
ผลลัพธ์การดำเนินงาน |
กิจกรรมจิตศึกษาในรูปแบบการจัดกิจกรรมที่ฝึกฝนการพัฒนากระบวนการการคิด กระบวนการทางความคิด สมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิดความรู้สึก และการกระทำ โดยจัดกิจกรรม 3 ช่วงเวลา เช้า กลางวัน และก่อนกลับ บ้าน |
นักเรียน โรงเรียนบ้านหนองกุลา (อนุบาล-มัธยมศึกษาปีที่ 3) |
นักเรียนสามารถยั้งใจคิดไตร่ตรอง |
กิจกรรม Site visit ในรูปแบบการเป็นแหล่งศึกษาวิจัย ระดับปริญญาตรี โท เอก และเป็นแหล่งศึกษาดูงาน นวัตกรรมจิตศึกษา PBL PLC ให้โรงเรียนในเครือข่าย โรงเรียนที่สนใจ หน่วยงานต่างๆ เช่น สถาบันผลิตครู |
เครือข่ายของโรงเรียนเช่น |
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม Site visit ได้ |
กิจกรรม PLC แลกเปลี่ยนเรียนรู้ |
ครูและผู้บริหารโรงเรียน |
ครูและผู้บริหารได้แนวการจัดกิจกรรมที่พัฒนาทักษะสมอง EF ให้กับนักเรียน |
การอบรมจิตศึกษา (เพื่อพัฒนา Self และ EF) ในรูปแบบการอบรม ทั้ง On site และ Online |
ครูโรงเรียนบ้านหนองกุลา |
ครูได้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรม มาพัฒนากิกจรรมที่เน้นการพัฒนา Self และ EF |
ความเปลี่ยนแปลง
- นักเรียน – มีพัฒนาการด้านความความคิดและอารมณ์ดีขึ้น สามารถยั้งใจ คิดไตร่ตรอง ควบคุมอารมณ์ มีการยืดหยุ่นทางความคิดสามารถตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำ และสามารถจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ ได้
- ครู – มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการพัฒนาทักษะสมองของเด็กได้ชัดเจนและลึกซึ้งยิ่งขึ้น สามารถนำความรู้มาสร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับยุคสมัยและสถานการณ์ปัจจุบันได้
กุญแจสู่ความสำเร็จ
- มีองค์กรเครือข่าย คณะกรรมการสถานศึกษาที่เข้มแข็ง ชุมชน และผู้ปกครองที่พร้อมสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ทำให้โรงเรียนบ้านหนองกุลาเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- โรงเรียนได้วางแนวทางบูรณาการความรู้ทักษะสมอง EF สู่แผนงานหลักทั้ง 4 กลุ่มงาน ได้แก่
- ด้านบริหารงานวิชาการ ส่งเสริมการจัดกิจกรรมที่พัฒนา EF-Self Control มี KSA ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ
- ด้านบริหารงบประมาณ มีการสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาสื่อการเรียนการสอน การอบรมพัฒนาครู
- ด้านบริหารบุคลากร ส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนาตนเองและนิเทศกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง
- ด้านบริหารทั่วไป พัฒนาอาคารสถานที่และจัดสภาพแวดล้อมให้เกิดสนามพลังบวก จัดแหล่งเรียนรู้สื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF
บทเรียนที่อยากบอกต่อ
“เมื่อเราได้ศึกษาและใช้นวัตกรรมจิตศึกษา PBL PLC มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 พบว่าสามารถสร้างเสริมพัฒนา EF และสมรรถนะตามหลักสูตรกับเด็กทุกระดับได้ดี จึงมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้ สมกับที่ได้รับความไว้วางใจคัดเลือกให้เป็นศูนย์เรียนรู้ EF Learning Center ขอบคุณทางสถาบันรักลูกที่สนับสนุนสื่อระบบไฮบริด ให้ครูและผู้บริหารทำหน้าที่ขยายผลการพัฒนา EF ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาเด็กและเยาวชน”
ดร.วรรณรักษ์ หงษ์ทอง
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองกุลา